วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารฯลฯ

แผนการสอนที่ ๑
วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร รหัสวิชา ๒๐๐๐๑๑๐๔
ระดับชั้น ปวช. ๑ ภาคเรียนที่ ๑
หน่วยที่ ๑ เรื่อง การสื่อสารด้วยวัจนภาษา เวลา ๒ คาบ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ---------------------- -
๑. สาระสำคัญ
การสื่อสารด้วยวัจนภาษา เป็นการสื่อสารด้วยถ้อยคำ คำพูดและการเขียน ในการแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อช่วยให้การสื่อความหมายได้เข้าใจตรงกัน
๒. จุดประสงค์การเรียนรู้
๒.๑ จุดประสงค์ปลายทาง
สื่อสารด้วยวัจนภาษาได้อย่างถูกต้อง
๒.๒ จุดประสงค์นำทาง
๑. บอกความหมายของการสื่อสารด้วยวัจนภาษาได้
๒. อธิบายองค์ประกอบของการสื่อสารได้
๓. จำแนกอุปสรรคของการสื่อสารได้
๔. ใช้วัจนในการสื่อสารได้
๓. เนื้อหาสาระ
๑. ความหมายของการสื่อสาร
๒. ความหมายของวัจนภาษา
๓. องค์ประกอบของการสื่อสาร
๔. อุปสรรคของการสื่อสาร
๕. วัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
๖. การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
การบูรณาการสู่งานอาชีพ
นำความรู้ ความเข้าใจจากกาใช้วัจนภาษามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานอาชีพในสาขาที่เรียน ได้ถูกต้อง
การบูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์สภาพปัญหาและสังเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาจากการ ฟังเพื่อนนำบทร้อยกรอง ในเรื่องที่ผู้พูดสนใจ โดยใช้หลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อน
คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๑. ความซื่อสัตย์
๒. ความสนใจใฝ่รู้
๓. การมีมนุษย์สัมพันธ์
๔. ความเชื่อมั่นในตนเอง
๕. ความรับผิดชอบ
คุณลักษณะที่กำหนดไว้ประจำทุกบทเรียนคือ
๑. การแต่งกาย
๒. การมีสัมมาคารวะ
๓. การตรงต่อเวลา
๔. การละเว้นสิ่งเสพติดและการพนัน
๑. ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ๓ ห่วง ๒ เงื่อน โดยผู้เรียนสามารถบูรณาการแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ คือ
๑. ความพอประมาณ เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ ภาษา
๒. ความมีเหตุผล คือการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาตนเองด้านการนำวัจนภาษามาใช้
๓. การมีภูมิคุ้ มกันที่ดีในตัว คือรู้จักการใช้ ถ้อยคำที่ถูกต้องกับโอกาส กาลเทศะ
๔. มีความรู้เกี่ยวกับการใช้วัจนภาษามาประยุกต์ใช้ในงานอาชีพ
๕. มีคุณธรรมในด้านการแบ่งปัน ความรับผิดชอบ สัมมาทิษฐิ และหิริโอตัปปะ
๒. ผลที่เกิดกับครอบครัว
ครอบครัวเกิดความอบอุ่นจากการใช้ถ้อยคำ ใช้ภาษาในการสื่อสาร ในการถ่ายทอดประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นร่วมกันและครอบครัวได้มีโอกาสให้คำแนะนำที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งในเรื่อง ความประพฤติ การดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพในอนาคต
๓. ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
สถานศึกษามีความสงบเรียบร้อย เพราะนักเรียนสามารถใช้การสื่อสารที่เป็นระบบระเบียบทำให้การ สื่อสารไม่เกิดอุปสรรค โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจมาเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง อย่างถูกต้อง เหมาะสม
๔. ผลที่เกิดกับชุมชน
ชุมชนเกิดความสงบ เรียบร้อย เพราะนักเรียนสามารถใช้การสื่อสารที่เป็นระบบระเบียบทำให้การ สื่อสารไม่เกิดอุปสรรค โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจมาเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง อย่างถูกต้อง เหมาะสม
๕. ผลที่เกิดกับวิชาชีพ
ผู้เรียนที่จบการศึกษาเข้าสู่วิชาชีพในสาขางานที่ศึกษาย่อมประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขเพราะได้
น้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพและสร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับอาชีพของตน
เนื้อหา
หน่วยที่ ๑ การสื่อสารด้วยวัจนภาษา
วัจนภาษา หมายถึง ภาษาที่เป็น ถ้อยคำ คำพูด หรือภาษาเขียนที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอด ประสบการณ์ แสดงแนวความคิดเห็นร่วมกันเป็นการช่วยในการประกอบอาชีพ ใช้ในการถ่ายทอด วัฒนธรรม อธิบายถึงประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ ให้เข้าใจง่ายและเข้าใจได้ตรงกัน วัจนภาษาจะช่วยให้ การสื่อสารสื่อความหมายได้ชัดเจน ตรงกันสามารถทำความเข้าใจได้ตรงกันในขณะสื่อสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสารจะสมบูรณ์หรือเกิดประสิทธิภาพและบรรลุตาม วัตถุประสงค์จึงควรศึกษาองค์ประกอบของการศึกษาดังนี้
๑. ผู้ส่งสาร
๒. ผู้รับสาร
๓. สาร
๔. สื่อ
๕. การตอบสนอง
อุปสรรคของการสื่อสาร ในการสื่อสารนั้นย่อมเกิดอุปสรรคได้ตลอดเวลา เมื่อการสื่อสารเกิด อุปสรรคเราจึงควรหาทางแก้ปัญหาเพื่อขจัดอุปสรรคนั้นให้หมดไป อุปสรรคของการสื่อสารขึ้นอยู่กับสิ่ง ต่อไปนี้
๑. ผู้ส่งสาร
๒. ผู้รับสาร
๓. สาร
๔. สื่อ
๕. การตอบสนอง
วัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร มีดังนี้
การใช้ภาษาให้ถูกต้องกับความหมายของคำ
การใช้ภาษาให้ถูกต้องกับบุคคล กาลเทศะ โอกาส สถานที่
การใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และไม่ควรใช้ภาษาต่างประเทศถ้าไม่จำเป็น
การใช้คำที่กะทัดรัดชัดเจนเข้าใจง่าย
ไม่ใช้คำสะแลง และไม่ใช้คำผิดหน้าที่
ใช้คำที่สุภาพให้เกียรติผู้ฟัง
เนื้อหาแนวเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยพระราชทานแนวความคิดเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษาใน ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ว่า
“ คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง
ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่าง ๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ”
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นคำใหม่ที่เกิดจากคำ ๒ คำ คือ เศรษฐกิจ และ พอเพียง เศรษฐกิจ หมายถึง
งานอันเกี่ยวกับการค้าขาย การผลิต และการบริโภค พอเพียงหมายถึง พอมี พอกิน พอใช้ ดังนั้นอาจจะกล่าว ได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิต ด้วยความพอเพียงไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่น เดือดร้อน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”
เพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญสามารถสรุปได้เป็น ๕ ประเด็น คือ ๓ ห่วง ๒ เงื่อน ๔ สมดุล
๓ ห่วง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
๒ เงื่อนหมายถึง คุณธรรมนำความรู้
๔ สมดุล หมายถึงความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
ดร.ปรียานุช พิบูลยสราวุธ ได้กล่าวไว้ใน เอกสารประกอบการอบรมเรื่องการจัดการศึกษาตาม
หลักเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ ว่า
แนวคิดหลักพอเพียง
เป็นปรัชญาเกี่ยวกับแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
เป้าหมาย
มุ่งให้เกิดความสมดุลและความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้ง
ทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
หลักการ
ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควรต่อ
การกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)
จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ใน
การวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ
ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจรติ และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน
ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ
นิยามของความพอเพียง
๑. ความพอประมาณ หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดย พิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และความเสี่ยงจาก
การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความพอเพียง
การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียงต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะ นำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
คุณลักษณะของคน/กิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ
พอเหมาะกับสภาพของตน/
ความจำเป็น
พอควรกับสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ/สังคม (ไม่โลภจน เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น/ไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม)
ความมีเหตุผล
ไม่ประมาท/มีวินัย(รอบรู้/มีสติ)
รู้สาเหตุ – ทำไม
รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
รู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ
มีภูมิคุ้มกันที่ดี
สุขภาพดี
พร้อมรับความเสี่ยงต่าง ๆ (วางแผน/เงินออม/ประกัน)
ทำ ประโยชน์ให้กับผู้อื่น/สังคม (แบ่งปัน/เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)
เรียนรู้/พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง